ประกอบด้วย
วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
การใช้จังหวะจันทร์ Moon phase
ต่อไปก็เป็นเรื่องของ การใช้จังหวะ Moon phase
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่โหราศาสตร์เกือบทุกแบบในโลก เฝ้ามองมานาน และนำมาใช้งานในการพยากรณ์เป็นประจำ ก่อนที่เราจะไปเรื่องที่เขียนไว้ในตำรา อยากให้ท่านสมาชิกสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองก่อนว่า ช่วงคืนเดือนเพ็ญ ท่านมีอารมณ์แตกต่างจาก ช่วงคืนเดือนมืดอย่างไร ผมว่าทุกท่านตอบได้ทันที วันเพ็ญเรามักจะรื่นเริงเบิกบาน ในขณะที่จันทร์แรมเดือนมืดจะเหงาๆหงอยๆ ดังนั้นความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กับเรา จึงถูกนำมาใช้พิจารณาในเรื่องของอารมณ์ และความสามารถในการทำงานของสมอง จึงไม่แปลกที่การบรรลุถึงความรู้เรื่องสำคัญๆของเกือบทุกศาสนาในโลกมักจะเกิดในวันเพ็ญเสมอ ในทางปฏิบัติ โหราศาสตร์ จะนิยมแบ่งจังหวะจันทร์เป็น 8 จังหวะเพื่อใช้งานทั่วไป จะแบ่งมากกว่านี้ก็มีครับแต่สำหรับผม 8 จังหวะนี่ก็ยากเกินจะจำรายละเอียดแล้ว ผมไม่ชอบจำอะไรมากมาย จำแบบที่ใช้งานได้ผมก็พอใจแล้วครับ
ภาพประกอบ จาก internet
ประกอบด้วย
ขึ้น 1 คำ หรือจันทร์ใหม่ ก่อเกิด เราควรจะใช้จังหวะนี้ในการเริ่มคิดเรื่องใหม่ๆ สมองพึ่งจะ reset มา อาจจะรู้สึกอยากทำโน่นทำนี่แต่ยังไม่มีแนวชัดเจนว่าจะทำมันอย่างไร
ขึ้น 4 ค่ำ จังหวะนี้ ถ้าใครคิดจะเริ่มคิดทำอะไรแต่ยังไม่ได้เริ่มคิดก็ยังไม่สาย
ขึ้น 8 ค่ำ จังหวะนี้ถ้าคุณเริ่มคิดมาบ้างแล้ว คุณจะเริ่มเห็นอุปสรรค จุดอ่อน จุดด้อยของสิ่งที่คิดมา มันเป็นเวลาที่คุณจะคิดหาทางแก้ ทางออก
ขึ้น 12 ค่ำ จังหวะนี้คุณจะมองเห็น ทั้งข้อดี และข้อเสีย และทางแก้ไขในระดับหนึ่ง เป็นเวลาของการ revise แผน และ action ไปแล้วในระดับหนึ่ง
ขึ้น 15 ค่ำ จังหวะนี้ คือการใช้สิ่งที่คิดมาให้เป็นประโยชน์สูงสุด เพราะรู้ทั้งข้อดีข้อเสีย ทบทวนดีแล้ว
แรม 4 ค่ำ ข้ามเข้าสู่ข้างแรม ตามหลักการก็คือ เข้าสู่ช่วงของการประเมินผลครั้งแรก ทบทวนสิ่งต่างๆ
แรม 8 ค่ำ ปัญหาที่คิดไม่ถึงจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ก็ต้องคิดแก้ไขไปตามสถานการณ์
แรม 12 ค่ำ สิ่งที่ยังแก้ไขไม่ได้ มันเกินเวลาจะแก้จริงๆจังๆแล้ว ต้อง let it go เน้นการประคองสถานการณ์มากกว่า ทบทวนเก็บประสบการณ์ไว้
แรม 15 ค่ำ ปล่อยวางเสีย ถึงเวลาพักสมองบ้าง หาอะไรสบายๆทำ ทำสมาธิสักหนึ่งวัน พรุ่งนี้ว่ากันใหม่กับ จันทร์รอบใหม่
การใช้จังหวะจันทร์ ก็ประมาณนี้ครับ
Facebook page คนชอบดูดวง (@newbieastrologer)
ประกอบด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น